วัสดุเรืองแสงคืออะไร?
วัสดุเรืองแสงมี 2 ประเภท ได้แก่ วัสดุเรืองแสงแบบใช้ซ้ำได้ และวัสดุเรืองแสงแบบใช้แล้วหมดไป (ใช้ซ้ำไม่ได้)
วัสดุเรืองแสงแบบใช้ซ้ำได้จะทำการดูดซับแสงมาเก็บไว้และเรืองแสงได้เองในที่มืด หลังจากเปล่งแสงออกมาจากวัสดุจนหมดแล้ว สามารถนำกลับมารับแสงแล้วใช้งานซ้ำใหม่ได้ ปัจจุบันมีวัสดุเรืองแสงแบบนี้หลักๆ 2 กลุ่มด้วยกันได้แก่
👉 ซิงค์ซัลไฟด์ (Zinc Sulfide): วัสดุกลุ่มนี้เป็นวัสดุเรืองแสงแบบดั้งเดิมที่มีแถบการเก็บพลังงานที่สั้น ดังนั้นจึงรับแสงได้รวดเร็วแต่แสงก็จะจางหายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน
👉 สตรอนเซี่ยมอะลูมิเนต (Strontium Aluminate): วัสดุนี้มีแถบการเก็บพลังงานที่ใหญ่กว่าซิงค์ซัลไฟด์ ซึ่งทำให้กักเก็บพลังงานแสงได้มากกว่า ดังนั้นวัสดุแบบนี้จึงสามารถเรืองแสงได้ยาวนานกว่าแบบซิงค์ซัลไฟด์เป็นอย่างมาก
ส่วนวัสดุเรืองแสงแบบที่ใช้แล้วหมดไปเกิดจากการทำปฏิกิริยาเคมี และบางวัสดุก็ปล่อยอนุภาคกัมมันตรังสีออกมาด้วย ซึ่งอนุภาคดังกล่าวจะลดลงไปตามเวลา ดังนั้นเมื่อพลังงานดังกล่าว หรือปฏิกิริยาเคมีดังกล่าวจบลง วัสดุก็จะไม่เรืองแสงอีกต่อไป บริษัทของเรามุ่งเน้นแต่เพียงวัสดุเรืองแสงแบบที่ใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ เท่านั้น
กลไกของการเรืองแสง
วัสดุเรืองแสงในที่มืดมีสมบัติการเรืองแสงมาจากการดูดเก็บพลังงานแสงเอาไว้และปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นแสงเมื่อสภาพแวดล้อมมืดลงโดยปราศจากการใช้พลังงานไฟฟ้า ดังนั้นวัสดุเรืองแสงจึงมีประโยชน์อย่างมากในแง่มุมต่างๆ ต่อไปนี้
- การใช้วัสดุเรืองแสงไม่ต้องการพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บนอนไดอ็อกไซด์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- เนื่องจากการเรืองแสงไม่ต้องการพลังงานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เรืองแสงในที่มืดจึงติดตั้งได้ง่าย และไม่ต้องเดินงานระบบไฟฟ้าแต่อย่างใด
- ไม่มีค่าใช้จ่ายระหว่างใช้งาน มีเพียงค่าสินค้าและค่าใช้จ่ายนการติดตั้งเริ่มต้นเท่านั้น
- ไม่จำเป็นต้องซ่อมบำรุงตามรอบเหมือนกับหลอดไฟหรือป้ายแบบใช้ไฟฟ้า ไม่มีต้นทุนค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่
ความแตกต่างระหว่าง “เรืองแสง” “สะท้อนแสง” และ “นีออน”
วัสดุเรืองแสง | วัสดุดูดซับพลังงานแสงและปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูของแสง วัสดุเรืองแสงสามารถเรืองแสงได้ด้วยตัวเองในที่มืดหลังจากดูดซับแสงมาอย่างเพียงพอ ความสว่างของการเรืองแสงจะลดลงตามเวลาที่เปล่งแสงไป และเมื่อแสงหมดก็สามารถนำไปรับแสงและกลับมาใช้ซ้ำได้ |
วัสดุสะท้อนแสง | วัสดุที่มีสมบัติสะท้อนแสงจะสะท้อนแสงที่มาตกกระทบเพื่อให้มองเห็นได้ในที่มืด (จำเป็นต้องมีแสงส่องเข้ามาเพื่อให้มองเห็น) วัสดุประเภทนี้ไม่เรืองแสงในที่มืดและมองไม่เห็นหากไม่มีแสงไฟส่องมากระทบ |
วัสดุสีนีออน | วัสดุแบบนี้จะตอบสนองต่อแสงแบล็คไลท์ที่มาตกกระทบแล้วเห็นเหมือนกับเรืองแสงขึ้นมาได้ (จำเป็นต้องมีแสงแบล็คไลท์ส่องเข้ามา) ดังนั้นวัสดุจะไม่เรืองแสงโดยปราศจากแสงแบล็คไลท์ส่อง (เรืองแสงเฉพาะเวลาที่โดนแบล็คไลท์ส่อง) |
อายุการใช้งานวัสดุเรืองแสง
วัสดุเรืองแสงโดยทั่วไปเป็นวัสดุกึ่งถาวรซึ่งจะใช้งานได้ยาวนานแต่ไม่ทนต่อความชื้นหรือน้ำ สมบัติการเรืองแสงจะสลายตัวด้วยน้ำ โดยปกติแล้วจึงมักแนะนำให้ใช้วัสดุเรืองแสงหรือผลิตภัณฑ์เรืองแสงภายในอาคารเป็นส่วนใหญ่
อย่างไรก็ตาม วัสดุเรืองแสงจาก LumiGLOW® ถูกผลิตขึ้นจากแร่สตรอนเซี่ยมอะลูมิเนตซึ่งเป็นวัสดุกึ่งถาวรและมีเทคโนโลยีเคลือบกันน้ำในระดับเม็ดผง ซึ่งทำให้วัสดุเรืองแสงของเราไม่เสื่อมแม้โดนน้ำและทนต่อแสง UV ด้วย วัสดุเรืองแสงของเราผ่านการทดสอบความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศนานถึง 1,030 ชั่วโมง (เทียบเท่ากับการใช้งานภายนอกอาคาร 5 ปี) โดยไม่พบความเสื่อมของวัสดุอย่างมีนัยสำคัญ
แหล่งกำเนิดแสงที่ใช้งานได้
วัสดุเรืองแสงจาก LumiGLOW® เป็นแร่สตรอนเซี่ยมอะลูมิเนียมซึ่งมีสมบัติดูดซับแสงที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 200nm ถึง 480nm ช่วยความยาวคลื่นแสงนี้ครอบคลุมทั้งแสง UV แสงจากหลอดไฟ LED รวมถึงหลอดฟลูออเรสเซ้นท์ จนถึงหลอดทังสเตนด้วย เนื่องจากวัสดุเรืองแสงสามาถใช้งานได้กับแหล่งกำเนิดแสงหลายชนิด วัสุดเรืองแสง LumiGLOW® จึงสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย
ระยะเวลาการเรืองแสงของวัสดุ
เรืองแสงได้นานแค่ไหน?
เรืองแสงได้นานกี่ชั่วโมง?
คำถามเหล่านี้มักจะถูกถามโดยลูกค้าจำนวนมาก คำตอบที่ทางบริษัทให้ได้อย่างตรงไปตรงมาคือ “ไม่สามารถระบุได้” เพราะการมองเห็นการเรืองแสงของวัสดุขึ้นอยู่กับระดับความเข้มของแหล่งกำเนิดแสงที่ป้อนเข้าไปในตัววัสดุ และสภาพแวดล้อมตอนใช้งานว่ามืดแค่ไหน โดยทั่วไป วัสุดเรืองแสงจะวัดค่าการเรืองแสงในหน่วยมิลลิแคนเดลาต่อตารางเมตร (mcd/m2) การมองเห็นที่ระดับการส่องสว่างต่างๆ ขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกต ทางทีมงานได้ดำเนินการทดสอบเพื่อตรวจสอบค่าวัดการเรืองแสงระดับต่ำที่สุดที่ยังมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้ผลตามตารางข้างล่างนี้ (กลุ่มตัวอย่าง 10 คน)
ระดับความสว่าง (mcd/m2) | เงื่อนไขการมองเห็นในสภาพมืดสนิท | จำนวนผู้สังเกตที่สามารถมองเห็นจุดเรืองแสงได้ | จำนวนผู้สังเกตที่ไม่สามารถมองเห็นจุดสังเกตได้ |
200 ขึ้นไป | อ่านตัวหนังสือได้ | 10 คน | 0 คน |
5 ขึ้นไป | สังเกตเห็นตัวหนังสือ | 10 คน | 0 คน |
ไม่เกิน 3 | มองเห็นจุดเรืองแสง | 10 คน | 0 คน |
ไม่เกิน 2 | สามารถสังเกตเห็นจุดเรืองแสง | 10 คน | 0 คน |
ไม่เกิน 1 | แทบสังเกตไม่เห็นจุดเรืองแสง | 3 คน | 7 คน |
0.3 | ขีดจำกัดเชิงกายภาพของอุปกรณ์ | — | — |
จากตารางข้างต้น จึงสามารถขีดเส้นที่สามารถมองเห็นสำหรับผลิตภัณฑ์เรืองแสง LumiGLOW® ได้ที่ระดับการส่องสว่าง 3 mcd/m2 ขึ้นไป ผลิตภัณฑ์เรืองแสงของเราดำเนินการวัดค่าแสดงตามวิธีการในมาตรฐานสากล อาทิเช่น DIN 67510, JIS Z 9107, ISO 17398 เป็นต้น
ควรให้ความสำคัญกับระดับของมาตรฐานมากกว่า “ชั่วโมงในการเรืองแสง”
ผู้ขายจำนวนมากมักอ้างถึง “จำนวนชั่วโมงในการเรืองแสง” ในคำอธิบายสินค้าโดยปราศจากการระบุเงื่อนไขการทดสอบ แม้ว่าผู้ขายแต่ละรายจะระบุจำนวนชั่วโมงการเรืองแสงเท่ากัน แต่ระยะเวลาการเรืองแสงจริงอาจแตกต่างกันได้
ระยะเวลาการเรืองแสงขึ้นอยู่กับ “ความเข้มของแสงที่ได้รับ” “ระยะเวลาการรับแสง” “เงื่อนไขการใช้งานในที่มืด (มืดสนิทหรือมีไฟสลัวๆ)” และ “สัดส่วนการผสมของผงเรืองแสงในตัวสินค้า”
ดังนั้นเงื่อนไขการฉายแสงและวิธีการวัดค่าการเรืองแสงควรจะถูกกำกับให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันในการเปรียบเทียบวัสดุเรืองแสงแต่ละประเภทเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการเรืองแสงและระยะเวลาการเรืองแสง มาตรฐานสากลอย่าง DIN67510, JIS Z 9107, ISO17398 กำหนดเงื่อนไขการฉายแสงและเงื่อนไขการวัดเอาไว้ หากต้องการเปรียบเทียบสมรรถนะการเรืองแสงของวัสดุเรืองแสงในที่มืด จำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ดำเนินการเปรียบเทียบภายใต้เงื่อนไขมาตรฐานเบอร์เดียวกันและระดับ (Class) เดียวกัน
ผลิตภัณฑ์เรืองแสง LumiGLOW® มีผลวัดความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศเพื่อให้มั่นใจในความทนทาน และมีผลวัดตามมาตรฐานอื่นๆ รองรับอีกมากมาย
LumiGLOW® ผ่านมาตรฐานสากลต่างๆ ดังนี้
- ทดสอบการทนน้ำ: แช่ชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์เรืองแสง LumiGLOW® ลงในน้ำเป็นระยะเวลา 1 เดือน แล้วไม่พบการเปลี่ยนแปลงสมรรถนะการเรืองแสงอย่างมีนัยสำคัญ
- ทดสอบความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ: ดำเนินการทดสอบตามมาตรฐาน JIS A 1415 โดยการพ่นน้ำเป็นระยะเวลา 18 นาที จากนั้นฉายแสงที่มีความเข้มแสง 180W/m2 โดยหลอดซีนอนเป็นระยะเวลา 102 นาที ภายใต้อุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 50% ผลการทดสอบไม่พบการเปลี่ยนแปลงในสมรรถนะการเรืองแสงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากทำซ้ำเป็นระยะเวลานาน 1,000 ชั่วโมง (เทียบเท่ากับการใช้งานภายนอกอาคาร 5 ปี)
- ทดสอบการยึดเกาะ: ดำเนินการทดสอบตามวิธีในมาตรฐาน JIS Z 0237 สำหรับเงื่อนไขทั้งภายในและภายนอกอาคาร
- ทดสอบการลามไฟ: ดำเนินการทดสอบตามวิธีในมาตรฐาน ASTM E 162-95
- ทดสอบการปล่อยควัน: ดำเนินการทดสอบตามวิธีในมาตรฐาน ASTM E 662
- ทดสอบการปล่อยก๊าซพิษ: ดำเนินการทดสอบการปล่อยก๊าซพิษตามวิธีในมาตรฐาน SMP-800C
- ทดสอบการเรืองแสง: ดำเนินการทดสอบตามวิธีในมาตรฐานสากลต่างๆ เช่น JIS Z 9107, DIN 67510, และ ISO 17398
- ทดสอบการเรืองแสง (ภายนอกอาคาร): ดำเนินการทดสอบตามวิธีในมาตรฐาน JIS Z 9098 และ ISO 22578
- การตรวจสอบสารอันตราย: ดำเนินการตรวจสอบสารอันตรายตามมาตรฐาน RoHS 2.0 ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอเมิรกา สหภาพยุโรป และพื้นที่ต่างๆ ในโลก เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุเรืองแสงและผลิตภัณฑ์เรืองแสงจาก LumiGLOW® และ Nexit® มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์และสัตว์ รวมถึงสิ่งแวดล้อมอีกด้วย (ผลิตภัณฑ์สีเขียว)